การพัฒนาคุณภาพชีวิตครอบครัวไทยวา

ความสามารถและความพร้อมของโครงสร้างองค์กรและบุคลากรของบริษัทฯ กับการปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน คือสิ่งที่ขับเคลื่อนบริษัทไปข้างหน้าอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ในเสาหลักกลยุทธ์ “การพัฒนาคุณภาพชีวิตครอบครัวไทยวา” ไทยวา มุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพของพนักงานพร้อมกับยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานทุกคนในทุกด้าน ตั้งแต่สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี, สถานที่ทำงานและสิ่งแวดล้อม, ไปจนถึงสวัสดิการ และการเคารพสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมทางเพศ โดยเน้นที่การมีส่วนร่วมของพนักงาน ส่งเสริมให้พนักงานรู้สึกปลอดภัยในการทำงาน และความมุ่งมั่นที่จะเติบโตก้าวหน้าในอาชีพ นอกจากนี้บริษัทฯ ยังส่งเสริมสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เน้นความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งพนักงานทุกคนจะได้รับการสนับสนุนให้พัฒนาและแสดงศักยภาพของตน ทั้งหมดนี้จะช่วยให้พนักงานประสบความสำเร็จมากขึ้น และมีส่วนสนับสนุนในเชิงบวกต่อความสำเร็จของบริษัทฯ ที่พนักงานสามารถภาคภูมิใจได้มากขึ้น

ด้วยแผนงานด้านบุคลลากรของบริษัทฯ มุ่งเป้าไปสู่การก้าวขึ้นมาเป็นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารที่พนักงานเลือก ที่มอบประสบการณ์สถานที่ทำงานที่ดีและโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของแต่ละบุคคล บริษัทฯ ได้ดำเนินการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานหลายด้าน เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมของพนักงานของบริษัทฯ ภายใต้หลัก “3 Rights Core” คือ Right People, Right Quality และ Right Place

ความสำคัญในการส่งเสริมการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน และสนับสนุนความหลากหลายในองค์กร โดยเริ่มตั้งแต่การรับพนักงานเข้าทำงาน ตลอดจนทุกวันของการทำงาน บริษัทฯ ยินดีรับฟังข้อเสนอแนะการทำงานจากพนักงานทุกทุกคน เพื่อนำมาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งทำให้คนทุกเจเนอเรชันสามารถอยู่กับไทยวาได้ และมีส่วนร่วมกับการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน

การสนับสนุนความหลากหลายและยอมรับความแตกต่าง

ไทยวา ยึดมั่นในการสนับสนุนความหลากหลายและการมีส่วนร่วมของพนักงาน บริษัทฯ ภาคภูมิใจในการเป็นองค์กรที่ยึดมั่นในการรับรองสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนมีสิทธิได้รับ และให้ความสำคัญกับความหลากหลายอันเป็นเอกลักษณ์ที่พนักงานแต่ละคนมอบให้กับองค์กร เพื่อบรรลุจุดประสงค์นี้ บริษัทฯ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าหลักปฏิบัติในการจ้างงาน ตลอดจนการดำเนินงานทุกด้านของบริษัทฯ ยุติธรรม เสมอภาคและไม่เลือกปฏิบัติอย่างแท้จริง

โปรแกรมต้อนรับพนักงานใหม่
โครงการนักศึกษาฝึกงาน และกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้

ไทยวา ไม่เพียงแต่มุ่งมั่นพัฒนาความพร้อมและความสามารถของพนักงานเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับคนรุ่นใหม่ที่จะเข้ามาเป็นผู้ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในอนาคตอีกด้วย เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับแรงงานแห่งอนาคต บริษัทฯ จึงจัดโครงการนักศึกษาฝึกงานสำหรับนักศึกษาที่สนใจงานในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ ในปี 2566 บริษัทฯ รับนักศึกษา 38 คนจากสถาบันการศึกษาไทยและต่างประเทศเข้าร่วมโครงการฝึกงานของบริษัทฯ ในโครงการนี้ พนักงานได้รับโอกาสในเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะ กระบวนการคิด การเรียนรู้เกี่ยวกับธุรกิจของบริษัทฯ และนำความรู้ในห้องเรียนไปปฏิบัติจริง ปลูกฝังความคิดสร้างสรรค์และทัศนคติที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม และส่งเสริมการกำกับดูแลกิจการ จริยธรรมในการทำงานและความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อให้พนักงานสามารถใช้ศักยภาพสูงสุดและมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่ยั่งยืนได้

นอกจากนี้เพื่อสนับสนุนนักศึกษาในกลุ่มที่กว้างขึ้น ในปี 2566 บริษัทฯ ได้จัดกิจกรรมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ ให้แก่นักศึกษา ตัวแทนจากบริษัทฯ ได้นำเสนอการนำความรู้ทางการศึกษามาประยุกต์ใช้ในการทำงาน รวมถึงแลกเปลี่ยนความคิดกับนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัย โดยมีหัวข้อดังนี้

  1. การใช้เทคโนโลยี GIS ในธุรกิจการเกษตรและความยั่งยืน กับทางคณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  2. พลาสติกชีวภาพจากแหล่งหมุนเวียน กับทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  3. การนำแป้งมันสำปะหลังและแป้งมันสำปะหลังดัดแปรไปประยุกต์ใช้ในอาหาร กับทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  4. การพัฒนาธุรกิจและการตลาด กับ Co-operative Education Programme at The Chinese University of Hong Kong (Co-op@CUHK)
  5. การพัฒนาความยั่งยืน นวัตกรรม และกลยุทธ์ กับกลุ่มนักศึกษา Wharton MBA ที่เข้าร่วม Global Modular Courses (GMCs) เพื่อเยี่ยมชมและพูดคุยกับผู้นำในหลากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งไทยวาเป็นตัวแทนจากอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร

การเสริมสร้างและพัฒนาบุคลากรผ่านการพัฒนาเพื่อยกระดับทักษะที่มีให้ดีกว่าเดิม (Upskill) และการสร้างทักษะใหม่ที่จำเป็นต่อการทำงาน (Reskill) ที่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ เพื่อกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และสร้างนวัตกรรมได้อย่างอิสระ ทั้งยังเพิ่มขีดความสามารถ ซึ่งนำมาสู่การดำเนินงานที่โดดเด่นและความได้เปรียบในการแข่งขัน รวมถึงเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านตำแหน่งที่มีประสิทธิภาพ

โครงการ Thai Wah Leadership Academy (TLA)

ในปี 2566 ไทยวามุ่งเน้นการพัฒนา 3 ด้าน ได้แก่ 1. Growth Mindset 2. การจัดการและการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง 3. การเป็นผู้นำตนเองอย่างมีประสิทธิผล โดยผ่านการเรียนรู้แบบผสมผสาน ได้แก่ การเรียนรู้ออนไลน์ ห้องเรียนเสมือนจริง การเรียนรู้จากการกระทำ และชุมชนแห่งการปฏิบัติ (Community of Practice) TLA เปิดสอนมากกว่า 30 ชั้นเรียน และมีพนักงาน 500 คนลงทะเบียนเรียนในหลักสูตรต่างๆ ตามความสนใจ

การสร้างเส้นทางผู้นําที่แข็งแกร่ง

ในปี 2566 ไทยวา ได้จัดทำ Internal Assessment Center เพื่อค้นหาคนที่เหมาะสมจะเป็นผู้จัดการโรงงานและสร้างความพร้อมให้กับพนักงานในการเติบโต และเพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรในการให้ความสำคัญในการพัฒนาคนจากภายใน ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับจากการทำ Internal Assessment Center ได้แก่

ประโยชน์ต่อองค์กร ประโยชน์ต่อพนักงาน ประโยชน์ต่อหัวหน้างาน
  • สร้างวัฒนธรรมที่เน้นความมีส่วนร่วมภายในองค์กร และส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรภายใน
  • สร้างความผูกพันพนักงานในการสนับสนุนโครงการ และเตรียมพร้อมเส้นทางการเติบโตอาชีพให้กับพนักงาน โดยมีแผนการที่ยาวนาน
  • ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอาชีพและโอกาสการเติบโตภายในองค์กรได้อย่างเป็นระบบ
  • เห็นถึงโอกาสในการเติบโตในองค์กรและได้รับโอกาสในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
  • มีส่วนร่วมและสนับสนุนทีมงานในการพัฒนาศักยภาพและสร้างโอกาสในการเติบโตภายในองค์กร
  • ได้รับการยอมรับจากทีมงานในฐานะหัวหน้างานที่ให้การดูแลและให้ความสำคัญกับความก้าวหน้าในอาชีพ
การบริหารผลตอบแทนที่จูงใจ

เพื่อบริหารและจูงใจให้บุคลากรสร้างสรรค์ผลงานและปรับปรุงการทํางานที่สนับสนุนเป้าหมายของไทยวา ตลอดจนขับเคลื่อนการเป็นองค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Organization) และผลักดันให้พนักงานมีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา ไทยวาจึงมีนโยบายและระบบการจ่ายค่าตอบแทนตามหลัก ‘การให้ค่าตอบแทนตามผลงาน (Pay for Performance)’ ที่เป็นธรรมและแข่งขันได้กับบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกันและต่างอุตสาหกรรม สอดคล้องตามประเภทงานและผลการปฏิบัติงาน โดยไทยวาได้ทําการทบทวนและอัพเดทกระบอกเงินเดือน (Salary Structure) และมีระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานประจําปีที่ให้พนักงานทุกคนประเมินตนเอง (Self Evaluation) รวมถึงมีการขอฟีดแบคจากคนรอบด้าน (360 Degree Feedback) และการยืนยันผลการประเมินผ่านกระบวนการ Calibration ที่มีความเข้มงวดของหัวหน้างานทุกระดับ ทั้งในสายงาน ข้ามสายงาน และระดับภาพรวมขององค์กร

การสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานและวัฒนธรรมองค์กรที่สนับสนุนให้พนักงานของเราทุ่มเทอย่างเต็มที่เพื่อทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และมีแรงบันดาลใจสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ ผ่านการมีส่วนร่วมของพนักงาน การพัฒนาความผูกพันของพนักงาน และกิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ

หลักการเสริมสร้างศักยภาพสตรี (Women’s Empowerment Principles:WEPs)

บริษัทฯ เล็งเห็นความจำเป็นในการปลูกฝังวัฒนธรรมของการโอบรับความแตกต่างและการสนับสนุนความเท่าเทียมในทุกด้าน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและคุณค่าของพนักงาน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์นี้ บริษัทฯ ทำงานอย่างหนักในการส่งเสริมและพัฒนาความเป็นผู้นำของผู้หญิง ผ่านการประเมินที่มีมาตรฐาน และจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกและทรัพยากรที่จำเป็นในการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ ด้วยการทำเช่นนี้บริษัทฯ มุ่งมั่นเสริมสร้างศักยภาพพนักงานหญิงของบริษัทฯ ช่วยให้บรรลุศักยภาพสูงสุดและเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง ในปี พ.ศ. 2566 พนักงานผู้หญิงคิดเป็น 50% ในตำแหน่งระดับผู้จัดการขึ้นไป และคิดเป็น 44% ในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง

สร้างประสบการณ์ที่ดี เพื่อพัฒนาความผูกพันของพนักงาน

ต่อเนื่องจากการทำแบบสำรวจความพึงพอใจและผูกพันของพนักงานในปี 2565 ไทยวาได้ตั้งแผนพัฒนา (Action Plan) ที่รอบคอบทั้งระดับองค์กรและระดับส่วนงาน เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศที่ดีขึ้นในองค์กร ทำให้มีความคล่องตัว ปลอดภัย และสร้างแรงบันดาลใจให้กับพนักงานทุกคนอย่างทั่วถึง

  • แผนพัฒนาระดับองค์กร (Corporate Action Plan)

    ไทยวาจัดทำแผนพัฒนาระดับองค์กร เพื่อสร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร เพิ่มความพึงพอใจในงาน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และรักษาพนักงานที่ดีไว้กับองค์กร ดังต่อไปนี้

    1. ส่งเสริมโอกาสในการเติบโตและการเรียนรู้

    • Improve the Performance Management System (PMS)
    • Review the promotion process and Associate Recognition Award (ARA) awards
    • Clearly communicate criteria of performance review
    • Enhance capabilities of people manager for new generation leader

    2. พัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

    • Establish practical and up-to-date SOPs
    • Utilize SharePoint as a digital platform for sharing essential information across the organization

    3. สร้างแรงขับเคลื่อนเพื่อการเติบโต

    • Prepare clear Job Descriptions
    • Report market situation data during the monthly Business Review meetings

    4. อัพเดทค่าตอบแทนรวมให้เหมาะสมตามวัตถุประสงค์

    • Inspect and improve welfare benefits

    5. สร้างแรงบันดาลใจและความเข้าใจ

    • Execute campaigns to communicate Vision & Mission
    • Conduct quarterly Townhall meetings to announce the Company’s direction and update business performance
    • Establish internal communication channels within the organization
  • แผนพัฒนาระดับส่วนงาน (Function/Business Unit Action Plan)

    ไทยวา ได้แต่งตั้ง "Engagement Champion" ในแต่ละส่วนงานเพื่อเป็นผู้ที่จะผลักดันให้เกิดการสร้างและนำแผนพัฒนาไปทำให้เป็นจริง เพื่อปิดกลุ่มความต้องการและสร้างความแตกต่างที่แท้จริงในแต่ละส่วนงาน ผลทั้งหมดของแผนพัฒนาได้รับการทำจริง 100% ในปี 2566

การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของพนักงาน

“Good health and Well-being” ถูกกำหนดให้เป็น 1 ใน 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเป็นหนึ่งในสิ่งที่ไทยวาให้ความสำคัญในปี 2566 เช่นกัน เนื่องจากสุขภาพของพนักงาน คืออีกหนึ่งส่วนที่ส่งผลต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร

ดังนั้น นอกเหนือจากนโยบายและสวัสดิการของบริษัทฯ ที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานแล้ว ไทยวา ยังริเริ่มโครงการสุขภาวะของพนักงาน (Well-being program) ที่มุ่งเน้นในการส่งเสริมสุขภาพด้านต่างๆ ของพนักงานภายในองค์กร ซึ่งมีส่วนสำคัญในกลยุทธ์การพัฒนาองค์กรเพื่อหนุนธุรกิจให้ยั่งยืน และขับเคลื่อนให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงโดยโครงการและกิจกรรม Well-being ครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านการเงิน และด้านสังคม

My Thai Wah

ด้วยสถานการณ์ที่ไม่หยุดนิ่งของธุรกิจในปัจจุบัน ไทยวามุ่งสร้างสรรค์คุณค่าและประสบการณ์ที่ดี ในการทํางานให้กับพนักงาน ด้วยการนําเทคโนโลยีเข้ามาช่วยปรับปรุงและยกระดับกระบวนการทํางานสู่รูปแบบอัตโนมัติ เพื่อความคล่องตัวและการปรับตัวสู่องค์กรที่มีวิธีและกระบวนการทํางานในรูปแบบออนไลน์ให้ได้มากที่สุด จึงทำให้เกิดแพลตฟอร์มระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคล (Human Resource Information System: HRIS) ใหม่ ที่ชื่อว่า MY Thai Wah

MY Thai Wah กําลังปฏิวัติวิธีการจัดการกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรขององค์กร เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2566 เราได้เปิดตัวระบบเพื่อรองรับความต้องการด้านการบริหารจัดการ ทรัพยากรบุคคลภายในองค์กรอย่างครบวงจร มีความยืดหยุ่นด้านการใช้งานอีกทั้งเป็น แพลตฟอร์มหลักในการจัดเก็บและประมวลข้อมูล ด้านทรัพยากรบุคคลเพื่อการตัดสินใจเชิงธุรกิจ ซึ่งมีการปรับปรุงและพัฒนาให้ตอบโจทย์ความ ต้องการขององค์กรและพนักงานผู้ใช้งานอย่างต่อเนื่อง

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการบริหารด้านสิทธิมนุษยชน โดยดำเนินการตามจรรยาบรรณธุรกิจและแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนสอดคล้องกับหลักสากล และกำหนดให้คณะกรรมการและ/หรือฝ่ายบริหารอาวุโสของบริษัทฯ ดูแลให้มั่นใจว่าไม่มีการละเมิดสิทธิตามกฎหมาย ซึ่งรวมถึงการไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการกระทำหรือการตัดสินใจใดๆของบริษัทฯ

บริษัทฯ ได้จัดทำนโยบายความรับผิดชอบทางธุรกิจต่อการเคารพสิทธิมนุษยชน มีมาตรการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน โดยยึดตามหลักการสิทธิมนุษยชนสำหรับธุรกิจแห่งสหประชาชาติ (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) มาใช้เป็นกรอบในการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการวิเคราะห์ และประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน การบริหารจัดการความเสี่ยง การติดตามและรายงานผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง สำหรับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญสำหรับบริษัทฯ ประกอบด้วย แรงงานบังคับ แรงงานที่มาจากการค้ามนุษย์ หรือแรงงานเด็กอันมิชอบด้วยกฎหมาย

เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯ มุ่งมั่นบริหารจัดการประเด็นสำคัญข้างต้นอย่างต่อเนื่อง บริษัทฯ มีการยกระดับความรับผิดชอบและความโปร่งใสในห่วงโซ่อุปทานของบริษัทฯ มีการเผยแพร่นโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืนและแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้าของบริษัท ฝึกอบรมให้ความรู้สนับสนุนให้คู่ค้าธุรกิจหลักตรวจประเมินตนเองด้านความยั่งยืน ดำเนินการตรวจประเมินคู่ค้าธุรกิจหลักด้านความยั่งยืน รวมถึงจัดหาวัตถุดิบหลักทางการเกษตรจากแหล่งที่มาที่รับผิดชอบ โดยผู้ประสงค์จะเป็นคู่ค้าในอนาคตทุกราย ต้องลงนามรับทราบถึงจรรยาบรรณธุรกิจและแนวปฏิบัติด้านแรงงาน และต้องปฏิบัติตามหลักการดังกล่าวที่บริษัทฯ กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ขณะเดียวกันบริษัทฯ ยังดำเนินนโยบายการดูแลสุขอนามัยความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงานตามกฎหมายและมาตรฐานต่างๆ ด้วย ความรับผิดชอบและใส่ใจเพื่อให้พนักงานและคู่ค้าธุรกิจทุกคนสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยและมีความสุขระหว่างการทำงาน

บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อการดูแลและปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเป็นธรรมบนพื้นฐานของการเคารพสิทธิมนุษยชน มีนโยบายชัดเจนโดยไม่เลือกปฏิบัติทั้งในการสรรหา การจ้างงาน การจ่ายค่าตอบแทนและสวัสดิการ การจัดฝึกอบรม การมอบหมายงาน การเลื่อนตำแหน่ง เป็นต้น ควบคู่ไปกับการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งจัดสภาพแวดล้อมการทำงาน โดยคำนึงถึงหลักความปลอดภัย และถูกสุขอนามัย ส่งเสริมวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมเพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างคุณค่าแก่ตัวพนักงานตลอดจนทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น และสร้างแรงบันดาลใจเพื่อที่ทุกคนจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มศักยภาพ

ทั้งนี้บริษัทฯ มีกระบวนการบริหารด้านสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง และยังไม่พบการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ อย่างไรก็ตามบริษัทฯ ได้จัดเตรียมช่องทางรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากพนักงานผ่านหลากหลายช่องทางเช่น Intranet, Suggestion Box เป็นต้น