การกำกับดูแลกิจการที่ดี

ไทยวา มุ่งมั่นในการรักษามาตรฐานสูงสุดของการกำกับดูแลกิจการที่ดีภายในบริษัทฯ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ โดยยึดหลักธรรมาภิบาลและหลักจริยธรรมเป็นหลัก บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัทฯ โดยคำนึงถึงสิทธิ ความต้องการและผลประโยชน์ และได้รับการปฏิบัติอย่างยุติธรรมและเท่าเทียม บริษัทฯ ตระหนักดีว่าการกำกับดูแลกิจการที่ดีมีความสำคัญต่อการเติบโตและความสำเร็จอย่างยั่งยืน และได้รับความไว้วางใจและเชื่อมั่นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัทฯ ดังนั้นบริษัทฯ จึงตั้งมั่นที่จะทำให้แนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ ยุติธรรม โปร่งใส และมีความรับผิดชอบ

การกำกับดูแลกิจการด้านความยั่งยืน

เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 คณะกรรมการบริษัทฯ ได้จัดตั้งคณะกรรมการความยั่งยืน โดยกำหนดขอบเขตการปฏิบัติงานให้ครอบคลุมในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

  • พิจารณา กำหนด ทบทวน นโยบาย กลยุทธ์ และสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของบริษัทฯ เพื่อความสมดุลในด้านต่างๆ เช่น สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (Environmental, Social and Governance – ESG) ให้สอดคล้องกับแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามมาตรฐานระดับประเทศและสากล ซึ่งรวมถึงความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม (Corporate Social Responsibility :CSR)
  • ให้คำแนะนำ และส่งเสริมการกำหนดหลักการและนโยบายให้สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กร
  • สนับสนุนคณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานให้ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กร และดูแลให้มั่นใจว่าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ดูแล ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อรักษาสมดุลและส่งเสริมประสิทธิภาพ อีกทั้งดูแลให้มั่นใจว่าก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับบริษัทฯ และผู้มีส่วนได้เสีย

ผู้บริหารจะรายงานผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนให้กับคณะกรรมการความยั่งยืนรับทราบอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง รวมถึงเสนอประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน ปีละ 1 ครั้ง โดยผู้บริหารและคณะกรรมการความยั่งยืน จะนำเสนอข้อสรุปให้กับคณะกรรมการบริษัทฯ ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ในการประชุมปีละ 2 ครั้ง

การบริหารจัดการความเสี่ยง

เพื่อให้แน่ใจว่าแนวปฏิบัติด้านการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ นั้นแข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพในการป้องกันและบรรเทาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น บริษัทฯ ได้วางระบบบริหารความเสี่ยงที่ครอบคลุม ซึ่งเป็นไปตามกรอบการบริหารความเสี่ยงขององค์กร (Enterprise Risk Management หรือ ERM) ตามมาตรฐาน COSO ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ระบบนี้ออกแบบมาช่วยระบุกลยุทธ์และวัตถุประสงค์ จัดการความเสี่ยง ทบทวนและปรับปรุงการดำเนินงานบริหารความเสี่ยง ตลอดจนรายงานและประเมินประสิทธิภาพของบริษัทฯ โดยมีกรอบแนวทางมาตรฐาน COSO และการควบคุมภายในที่ดีของบริษัทฯ

แนวปฏิบัติด้านการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ ประกอบไปด้วย 5 ส่วน ได้แก่ โครงสร้างการกำกับดูแลความเสี่ยง, กลยุทธ์และการกำหนดวัตถุประสงค์, การดำเนินงาน, การทบทวนและแก้ไข, และ ข้อมูลการสื่อสารและการรายงาน

การต่อต้านการทุจริต

บริษัทฯ ดำเนินการใช้นโยบายการต่อต้านการคอร์รัปชันที่เข้มงวด เพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจของบริษัทฯ ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซื่อสัตย์ โปร่งใส ตรวจสอบได้และเป็นธรรม พร้อมมอบแนวทางการดำเนินงานให้พนักงานทุกระดับมีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริต โดยบริษัทฯ ได้รับการยอมรับจาก แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชั่นของภาคเอกชนไทย (Thai Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption หรือ CAC ถึง 3 ครั้ง นับตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความทุ่มเทของบริษัทฯ ในการสนับสนุนมาตรฐานการต่อต้านการทุจริต

บริษัทฯ ได้จัดให้มีการอบรมเรื่องการต่อต้านคอร์รัปชันให้กับพนักงานทุกคน รวมถึงพนักงานที่เริ่มงานใหม่ เพื่อให้พนักงานเข้าใจ และตระหนักถึงแนวทางการต่อต้านคอร์รัปชันของบริษัทฯ ซึ่งแสดงถึงความมุ่งมั่นในการส่งเสริมความโปร่งใสภายในองค์กรผ่านวิดีโอแอนิเมชั่นการต่อต้านการคอร์รัปชันแบบ E-learning "ไทยวาต่อต้านการทุจริต เดอะซีรีส์" (Thai Wah Anti-Corruption the Series) ให้กับพนักงานของบริษัทฯ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทุจริต ตั้งแต่สถานการณ์ปัจจุบันของการทุจริตในประเทศไทย, นโยบายต่อต้านการทุจริตของบริษัทฯ ไปจนถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างครอบคลุมมากขึ้น และมีการวัดผลความเข้าใจเกี่ยวกับบทเรียน นอกจากนี้ บริษัทได้มีการประเมินความเสี่ยงระดับหน่วยงานในด้านการปฏิบัติงาน และได้จัดทำระบบการควบคุม และดำเนินการแผนการจัดการความเสี่ยง เพื่อลดระดับความเสี่ยงให้สอดคล้องตามนโยบายที่กำหนด ส่งผลให้พนักงานเกิดความตระหนักเรื่องการบริหารความเสี่ยง และเรียนรู้วิธีการมีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริต โดยในปี 2566 ผู้บริหารได้เข้ารับการอบรมการต่อต้านการทุจริตร้อยละ 100 และพนักงานร้อยละ 99 ต่อจำนวนกลุ่มเป้าหมาย

ประเภทของข้อร้องเรียน จำนวนเรื่อง มาตรการจัดการ
ตักเตือนด้วยวาจา ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร พักงาน เลิกจ้าง
1. การทุจริต 1 - - - 3 คน
2. ไม่ปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติงาน 5 1 คน 4 คน - -
3. ปฏิบัติไม่สอดคล้องตามนโยบายต่อต้านการทุจริตคอรัปชัน 1 - - - 1 คน
กรณีที่มีการลงโทษทางวินัยตามระเบียบบริษัท โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของกรณีทั้งหมด (%) 100 - - - -

ช่องทางการแจ้งเบาะแสและการจัดการข้อร้องเรียน

คณะกรรมการบริษัทฯ
อีเมล:
ไปรษณีย์:
คณะกรรมการบริษัทฯ
บริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน)
21/11, 21/13 อาคารไทยวา 1 ชั้น 6 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120
คณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง
อีเมล:
ไปรษณีย์:
คณะกรรมการตรวจสอบและบริหารความเสี่ยง
บริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน)
21/11, 21/13 อาคารไทยวา 1 ชั้น 6 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120
หน่วยงานตรวจสอบภายใน
อีเมล:
ไปรษณีย์:
หน่วยงานตรวจสอบภายใน
บริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน)
21/11, 21/13 อาคารไทยวา 1 ชั้น 6 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120