การพัฒนาโรงงานและชุมชนสีเขียว

ในการดำเนินธุรกิจที่ต้องใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติ ทั้งแหล่งพลังงานและน้ำ รวมถึงทรัพยากรมนุษย์นั้น บริษัทให้ความสำคัญกับดูแลและการจัดการทรัพยากรทั้งหมดอย่างมีคุณค่า ในเสาหลักกลยุทธ์ “การพัฒนาโรงงานและชุมชนสีเขียว” ให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมให้เกิดน้อยที่สุด และการดูแลคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยของพนักงานและคู่ค้า โดยใช้ระบบธุรกิจไทยวาเป็นระบบในการจัดการกิจกรรมต่างๆ ในโรงงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานทั้งหมด ตั้งแต่การจัดการขั้นตอนการทำงาน การใช้พลังงาน เพิ่มการใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ และพลังงานจากก๊าซชีวภาพ เป็นต้น การนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ และการเพิ่มมูลค่าให้กับของเสีย การนำนวัตกรรมการจัดการน้ำและการบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพมาใช้ ลดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม

ระบบธุรกิจไทยวา

ไทยวา มีพันธกิจในการทำให้ทุกขั้นตอนการผลิต มีประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งในด้านการใช้บุคคลากร และการใช้ทรัพยากรต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ บริษัท จึงสร้างความตระหนักเกี่ยวกับความสำคัญของความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และความเชื่อมโยงระหว่างความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมกับความสำเร็จของธุรกิจ โดยมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงระบบโรงงาน ด้วยเหตุนี้บริษัท จึงได้พัฒนา "ระบบธุรกิจไทยวา" (Thai Wah Business System หรือ TBS) ที่มีหลักการของ LEAN เป็นต้นแบบ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพและปรับปรุง การดำเนินงานทั้งหมดอย่างต่อเนื่อง ให้มั่นใจได้ว่าการดำเนินงานและผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ทั้งหมดนี้เป็นไปเพื่อให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วม และให้แน่ใจว่าพวกเขามุ่งเน้นไปที่เป้าหมายร่วมกันนี้

ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมการทำงาน

สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะเป็นสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานสำหรับพนักงานและคู่ค้าของบริษัท ในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์นี้ บริษัท ได้ใช้กฎระเบียบด้าน ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมการทำงาน (Safety, Occupational Health, and Working Environment หรือ SHE) ที่เข้มงวด และตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกคนที่เข้ามาในบริเวณโรงงานเข้าใจถึงความสำคัญด้านความปลอดภัย และปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้บริษัท ยังยึดมั่นปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความปลอดภัยทั้งหมดอย่างเคร่งครัด เช่น มอก. 18001, ISO 45001, และ ISO 14001 เป็นต้น การปฏิบัติตามแนวทางเหล่านี้ทำให้บริษัท สามารถรับประกันสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะสำหรับพนักงานและคู่ค้าได้

ผลการดำเนินงานปี 2566 เป้าหมาย
อัตราความถี่ของการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน (LTIFR) 5.3
อัตราความรุนแรงของการบาดเจ็บ (ISR) 48.9
อัตราการเสียชีวิต (FR) 0 ราย
อุบัติเหตุโดยรวมและอุบัติเหตุขั้นหยุดงานลดลง 50% เมื่อเทียบกับปี 2566 และอุบัติเหตุเป็นศูนย์ภายในปี 2568 อัตราการเสียชีวิต เป็น 0
การจัดการก๊าซเรือนกระจก

การเปลี่ยนแปลงแนวทางการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการใช้พลังงานทดแทนเพื่อลดการใช้พลังงานที่มาจากแหล่งฟอสซิล มีวัตถุประสงค์เพื่อรับมือและเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการสภาวะโลกรวนหรือสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ไทยวา ตั้งเป้าหมายในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี ค.ศ. 2050 หรือปี พ.ศ. 2593 ไทยวามีการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผ่านกลยุทธ์ 3T ดังนี้

  • Traceability: การระบุแหล่งที่มาและปริมาณของก๊าซเรือนกระจกทั้งขอบเขตที่ 1, 2 และ 3 อย่างต่อเนื่อง
  • Transition: การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากแหล่งที่มาที่สามารถควบคุมได้ เช่น การใช้พลังงาน การปรับปรุงระบบการผลิตในโรงงาน และการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิต
  • Transformation: การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและวัฒนธรรมทั้งภายในและภายนอกของไทยวา เช่น การผสานการดำเนินงานด้านความยั่งยืนเข้าสู่กลยุทธ์หลัก และความต้องการของลูกค้าเกี่ยวกับการดำเนินงานและเป้าหมายด้านความยั่งยืนของบริษัท
การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (tCO2e) 2564 2565 2566 เป้าหมาย 2567
ปริมาณก๊าซเรือนกระจก ขอบเขต 1 และ 2 (ton CO2e)* 89,127 58,960 58,297 55,382

*ปริมาณก๊าซเรือนกระจกของโรงงานสาขาบางเลน สาขาแม่สอด สาขาท่าคันโท สาขาพิมาย และบริษัทในเครือ คือ บริษัท ไทยนำมันสำปะหลัง จำกัด และบริษัท สำปะหลังพัฒนา จำกัด โดยข้อมูลยังไม่ได้รับการทวนสอบโดยผู้ทวนสอบจากภายนอก บริษัทมีแผนจะทวนสอบข้อมูลภายในปี 2567

ในช่วงเวลา 3 ปีที่ผ่านมา บริษัทได้ดำเนินกิจกรรมและโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การใช้พลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ และจากก๊าซชีวภาพ การปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตเพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การปรับปรุงระบบการบำบัดน้ำเสีย ทำให้บริษัทสามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 30,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือคิดเป็นประมาณ 30% จากปี 2564 นอกจากการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขตที่ 1 และ 2 แล้ว ไทยวา ยังค้นคว้านวัตกรรมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่อุปทานอย่างต่อเนื่อง

ไทยวา ใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำด้านพลังงานยั่งยืน การเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานแสงอาทิตย์โดยปัจจุบันมีกำลังผลิตอยู่ที่ 2.43 MW ติดตั้งที่โรงงานอาหาร ที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม นอกจากจะเป็นการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนแล้ว ยังเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานอีกด้วย ซึ่งส่วนหนึ่งของการประหยัดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากพลังงานหมุนเวียนนี้ ไทยวา มอบให้กับกองทุนพลังงานของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เพื่อนำไปพัฒนา สนับสนุนและจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมชุมชนและสังคมในพื้นที่ใกล้เคียงกับโรงงาน

การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ 2562 2563 2564 2565 2566
ไฟฟ้าที่ผลิตด้วยแผงโซลาร์ (เมกะวัตต์ชั่วโมง) 589 1,405 1,406 2,769 2,796
ค่าไฟที่ประหยัดได้ (ล้านบาท) 2 5 5 11 12

ไทยวา จัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบโดยดำเนินการผลิตไฟฟ้าจากน้ำเสียและของเสียจากการผลิต ซึ่งทำให้เกิดเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญของบริษัท โดยปัจจุบันบริษัทมีโรงงานไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ 2 แห่ง ได้แก่ บริษัท ไทยนำมันสำปะหลัง จำกัด และโรงงานสาขาท่าคันโท

โรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ 2562 2563 2564 2565 2566
ไฟฟ้าที่ผลิตด้วยโรงไฟฟ้าชีวภาพ (เมกะวัตต์ชั่วโมง) 20,137 37,376 31,571 27,012 25,672
ค่าไฟที่ประหยัดได้ (ล้านบาท) 60 150 112 94 96
การจัดการของเสีย

ไทยวา มุ่งลดของเสียและใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยดำเนินการตามเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้วัตถุดิบและทรัพยากรที่มีอยู่ ในขณะที่ลดของเสียลงให้เหลือน้อยที่สุดตลอดขั้นตอนการผลิต บริษัทได้นำของเสียกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์ และเพิ่มคุณค่าให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น

  • การนำก๊าซชีวภาพที่ได้จากน้ำเสียและกากมันสำปะหลังมาใช้สำหรับผลิตพลังงานความร้อนและกระแสไฟฟ้า โดยกากมันสำปะหลังกว่า 7,000 ตันถูกนำมาใช้ในการผลิตไบโอแก๊สในปีที่ผ่านมา
  • การนำกากมันสำปะหลังมาใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารสัตว์ ในปีที่ผ่านมา บริษัทได้นำกากเปียกที่เป็นของเสียจากการผลิตมาทำเป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์ปริมาณกว่า 300 ตัน
  • การนำกากมันสำปะหลังมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อใช้ในแปลงทดลองของบริษัท และแจกจ่ายให้กับเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียง
การจัดการน้ำ

บริษัทบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน โดยมีการวิเคราะห์กระบวนการผลิตทั้งหมดที่มีการใช้น้ำ และปรับปรุงขั้นตอนที่จำเป็นเพื่อลดปริมาณการใช้น้ำ สำหรับการดึงน้ำมาใช้นั้น บริษัทมีเป้าหมายลดการใช้น้ำในกระบวนการผลิตในโรงงานแป้งอย่างน้อย 5% และโรงงานอาหารอย่างน้อย 3% ทุกปี โดยมีการตรวจสอบและดูแลรักษาเครื่องจักรอย่างสม่ำเสมอ ให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • การลดการใช้น้ำ: ประเมินปริมาณน้ำจากแหล่งน้ำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อวางแผนน้ำที่จะใช้ในกระบวนการผลิต และประเมินแนวทางการใช้น้ำตลอดกระบวนการผลิต เพื่อลดการใช้น้ำในแต่ละขั้นตอน ด้วยการบูรณาการนวัตกรรมและดูแลปรับปรุงเครื่องจักร
  • การใช้น้ำหมุนเวียน: นำน้ำที่ผ่านกระบวนการผลิตแล้วมาใช้ซ้ำในขั้นตอนล้างหัวมันขั้นแรก โดยน้ำหมุนเวียนผ่านการบำบัดกากตะกอนน้ำเสียเรียบร้อยแล้ว
  • การจัดการน้ำเสีย: น้ำเสียที่ผ่านกระบวนการผลิตทั้งหมด ผ่านการบำบัดด้วยระบบเติมอากาศแล้วทำการผันให้กับเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงนำไปใช้ในการกิจกรรมการเกษตร