Agri-Tech
เทคโนโลยีการเกษตรตัวที่ 2 หรือหุ่นยนต์ เครื่องจักรกล และอุปกรณ์ ซึ่งจะเข้ามาช่วยเพิ่มศักยภาพการผลิตอย่างชัดเจน
สำหรับเทคโนโลยีการเกษตรตัวที่ 2 หรือหุ่นยนต์ เครื่องจักรกล และอุปกรณ์ ซึ่งจะเข้ามาช่วยเพิ่มศักยภาพการผลิตอย่างชัดเจน
วันนี้แอดเริ่มเล่าจากโดรน เพราะเชื่อว่าหลายคนรู้จักโดรนในแง่เครื่องมือการถ่ายภาพกันดีอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังเข้าถึงได้ง่าย มีราคาราคาตั้งแต่หลักร้อยถึงหลักแสน แต่รู้ไหมว่าสำหรับภาคการเกษตรนั้น โดรนถูกนำมาใช้ในกระบวนการไหนบ้าง ปัจจุบัน โดรนได้ถูกนำมาใช้หลักๆ เช่น
- การตรวจสอบสภาพพื้นที่และทำแผนที่
- การให้ปุ๋ยและสารอาหารทางใบ
- การหว่านเมล็ดพันธุ์
- การวิเคราะห์การเจริญเติบโตของพืช
- การตรวจสอบปัญหาในแปลง วัชพืช โรคพืช และแมลง
- ฯลฯ
วันนี้จะมายกตัวย่างของการใช้โดรนการเกษตรเพื่อให้ปุ๋ยและยาให้ฟังกันนะคะ ในปัจจุบันนี้ มีบริการรับจ้างฉีดพ่นโดยใช้โดรนการเกษตรเป็นจำนวนมาก และสามารถเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้นทั่วประเทศไทย โดยราคาค่าบริการ มีราคาตัง้แต่ 50-100 บาทต่อไร่ต่อวัน ซึ่งเท่ากับหรือถูกกว่าวิธีการใช้แรงงานแบบดั้งเดิม (ค่าแรงคนต่อไร่ = 140 บาทต่อไร่ต่อวัน)
ข้อดีหลักๆ ของโดรนเลยคือ
- สามารถทำงานแทนคนได้อย่างรวดเร็ว สามารถทำงานได้ >100 ไร่ต่อวัน โดยใช้คนเพียง 1-2 คน ในขณะที่แบบดั้งเดิมสามารถทำงานได้เพียง 5-8 ไร่ต่อวันโดยใช้คน 1 คน
- ประสิทธิภาพการฉีดดีกว่า โดยมีอัตราการสิ้นเปลืองน้อยกว่า เนื่องจากการกระจายของละอองเป็นไปอย่างทั่วถึง
- สามารถพ่นเฉพาะจุด และเข้าถึงแปลงในจุดที่ยากต่อการเข้าถึงได้
- ลดความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของสารเคมีอันตรายของ เกษตรกร
วันนี้แอดขอยกตัวอย่าง แอพพลิเคชัน ในการหาบริการโดรน ของเกษตรกร และหางานรับจ้างของผู้ประกอบการโดรนอย่างง่ายๆ สามารถคลิ๊กลิ้งด้านล่างได้เลยนะคะ
หลังจากอ่านจบ ท่านผู้อ่านมีความเห็นกันยังไงบ้างคะ กับการใช้โดรน?
